เป็นโรคซึมเศร้า จะบอกคนรอบข้างให้เข้าใจได้
ยังไง?
.
>เมื่อไม่สบายด้วยโรคซึมเศร
้า ประเด็นเกี่ยวกับการแจ้งข้อ
มูลการเจ็บป่วยให้คนสำคัญขอ
งเราทราบ นับว่าเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำ
หรับผู้ป่วยที่มักถูกถามเข้
ามาเสมอ วันนี้เราลองมาดูขั้นตอนแบบ
ง่ายๆสั้นๆกันครับ
.
.
1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เราไม่สบายด้วยโรคซึมเศร้าจริงๆ อาจขอคำยืนยันจากคุณหมอ (หรืออาจขอหนังสือรับรอง/เอกสารลงความเห็นจากคุณหมอด้วยก็ได้)
.
2. ตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าต้องการอะไรจากการแจ้ง ต้องการความช่วยเหลือ? หรือต้องการจะบอกให้ทราบ จริงอยู่ที่ไม่จำเป็นที่เราจะต้องป่าวประกาศให้ทุกๆคนรู้ว่าเรากำลังไม่สบาย แต่โดยทั่วไปสำหรับบุคคลที่มีความสำคัญต่อเรามากๆ ( เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หัวหน้างาน คุณครู เพื่อนสนิท แฟน)เขาเหล่านี้ควรมีสิทธิ์ที่จะได้รู้ เพราะการได้รับความเข้าใจและกำลังใจจากคนที่มีความสำคัญกับเรานั้นนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมักส่งผลในทางบวกต่อการเจ็บป่วยอย่างเสมอ
.
3. สถานที่บอกก็มีความสำคัญ ควรบอกในที่ๆมีความสงบ เป็นส่วนตัว และเป็นที่ๆเราสบายใจ
.
4. ให้กำลังใจและชมเชยตัวเอง ผ่อนคลายความตื่นเต้นและวิตกกังวลด้วยการหายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ
.
5. การเขียนสคริปสิ่งที่จะพูด เช่น ความรู้สึก ปัญหาค้างคา หรือประโยคที่อยากบอก ไว้ในกระดาษไว้ก่อน จะช่วยให้เราจัดเรียงลำดับความคิดได้ดีขึ้น
.
6. จูนทัศนคติของเราเองก่อนเสมอ ว่าการเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และไม่ใช่ความผิดของใคร โรคก็คือโรค ไม่มีใครอยากป่วย แต่ถ้าป่วยแล้วก็แค่ต้องรักษา และมันรักษาง่ายกว่าที่เราคิด
.
7. บอกความจริงไปเลย ง่ายๆ ตรงๆ สั้นๆ “หนูไม่สบายด้วยโรคซึมเศร้า” “คุณหมอบอกว่าผมเป็นโรคซึมเศร้าตอนนี้กำลังรักษาอยู่” “วันนี้รู้สึกเศร้าและแย่มากๆ” เป็นต้น
.
8. เมื่อได้บอกไปแล้ว ณ จุดแรก ผู้ฟังอาจตกใจ หรือแสดงท่าทีไม่เชื่อ สิ่งที่เราต้องทำ คือ การให้เวลากับผู้ฟังได้ตั้งหลักและค่อยๆให้ข้อมูลให้มากขึ้น
.
9. ผู้ฟังอาจเกิดความรู้สึกผิด เช่นคิดว่า “มันเป็นความผิดของฉันใช่ไหม?” ให้บอกไปว่าความไม่สบายเหล่านี้ไม่ได้เป็นความผิดของใครโดยตรง และมันอาจเกิดจากตัวโรคเองก็ได้
.
10. ถ้าได้ลองแล้วไม่สำเร็จหรือพบกับอุปสรรค (ซึ่งมักจะเป็นแบบนั้นได้บ่อยๆ) เราอาจขอความกรุณาให้คุณหมอเป็นผู้เจรจาและแจ้งให้พวกเขาทราบก็ได้ เพราะโดยทั่วไปหากผู้ป่วยท่านใดมีปัญหาในการทำความเข้าใจกับญาติ จิตแพทย์ก็มักจะขอนัดพบญาติเพื่อพูดคุยและให้ความรู้ที่ถูกต้อง ฝากไว้ว่าประโยคที่ออกจากปากของผู้เชี่ยวชาญมักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเสมอ
.
.
.
By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา
٩(^‿^)۶ [ ]--["""""|"""""|"""""|]>------
www.facebook.com/D2JED
* Cliparts by Classroomclipart [License]
ปล. เมื่อใดก็ตามที่มีความคิดถึงความตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่อย่างรุนแรง จะต้องแจ้งให้ผู้ที่เราไว้ใจหรือคุณหมอทราบเสมอ